วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคงานเขียนเรื่องสั้น นิยายจากปู่ “เบน โบวา” (Ben Bova) ตอนที่ 2

สวัสดีครับ ผมเรียบเรียง เทคนิคงานเขียนจากปู่เบน ตอนที่หนึ่งไว้นานมากแล้ว ตอนนี้มีเวลาก็เลยนำมาเสนอต่อเทคนิคตนอที่ 4 ต่อครับ ก่อนอื่นต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า ผมใช้วิธีอ่านแล้วเรียบเรียงเอาเองเพื่อให้อ่านง่าย ไม่ได้แปลจากคำแนะนำหรือต้นฉบับเนื้อความภาษาอังกฤษแบบตรงตามประโยคเป๊ะๆ เริ่มกันเลยดีกว่าครับ

4 เทคนิคการสร้างเรื่องเพื่อเขียนเป็นนิยาย หรือเรื่องสั้น

นิยายหรือเรื่องสั้นจะเกิดขึ้นได้จาก การที่เรามี”ตัวละคร”กับ”ปัญหา”ที่ตัวละครเราต้องเจอ…มีแค่นี้เองครับ ไม่มีอะไรซับซ้อนมากกว่านี้ ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถสร้างฉาก เขียนบรรยายประโยคซะสวยหรูหรือสร้างตัวละครได้สมจริงมากแค่ไหน แต่ถ้าเรื่องของคุณ ไม่มี”ตัวละครกับปัญหาที่ตัวละครต้องผจญ” เรื่องของคุณจะถูกปฎิเสธจากบรรณาธิการทันทีครับ ดังนั้นท่องไว้ในใจครับว่า “ตัวละคร+ปัญหา=เรื่องที่จะเล่า” เขียนเป็นสมการง่ายๆแบบนี้แหล่ะครับ…

ตัวละครหลักที่เป็นตัวดำเนินเรื่อง (ไม่ว่าจะเป็นตัวละครผู้หญิงหรือผู้ชาย) จะเรียกว่า “ตัวเอก” หรือภาษาอังกฤษคือ protagonist
จงสร้างตัวละครที่สมจริงครับ เพราะคนอ่านเวลาอ่านนิยายของเราเขาอยากจะเป็นตัวละครในนิยายที่อ่าน (ภาษาชาวบ้านท้ายตลาดเรียกว่า “อิน” กับเรื่องครับ) ถ้าเราสามารถสร้างตัวละครให้ไปอยู่ในใจผู้อ่านได้ เมื่อตัวละครเราโศกเศร้า ผู้อ่านก็จะเศร้าตาม ตัวละครหัวเราะหรือดีใจผู้อ่านก็จะเกิดอารมณ์แบบนั้นตามไปด้วย

จงสร้างตัวละครให้มีปมปัญหาในใจ เพราะผู้อ่านจะรู้สึกสงสารตัวละครตัวนั้นไปด้วย “สร้างตัวละครให้เขามีด้านที่อ่อนแอแทนที่จะมีด้านที่แกร่งแต่เพียงอย่างเดียว” โดยปกติแล้ว คนอ่านจะไม่รู้สึกอะไรถ้าตัวละครของเราไม่มีด้านที่อ่อนแอเลย (ภาษาชาวบ้านอีกแล้ว…เรียกว่า ไม่มีใครดีพร้อม เก่งไปซะหมด แม้แต่ซุปเปอร์ฮีโร่ในการ์ตูนของ Marvell เองก็ตามครับ ก็ต้องมีจุดอ่อน อย่างพี่ซุปเปอร์แมนสุดหล่อของเราก็แพ้แท่งคลิปโตไนซ์)

คราวนี้ขั้นตอนล่ะจะทำยังไง การที่จะให้ตัวละครเราตกที่นั่งลำบากโดยจงใจ (จากฝีมือนักเขียนนี่แหล่ะ) มันมีวิธีครับ…ดังนี้เลย

เริ่มจาก “ใส่ปัญหาภายใน (ภายในใจตัวละครเช่น ปมด้อยเรื่องที่เป็นคนโมโหร้าย คิดมาก คิดช้า จนไม่มีใครอยากคบด้วย) และภายนอกให้กับตัวละคร” ปัญหาภายนอกก็เช่นเพื่อนร่วมงานไม่ชอบการวางท่าวางทางของเขา อิจฉาความสามารถของเขาจนคิดจะกำจัดเขา (เว่อร์ไปนิดแต่ก็โอเคอยู่) ตัวละครที่มีปัญหาหรือความขัดแย้ง (conflict) กับตัวเอกเราเรียกตัวละครตัวนั้นว่า antagonist หรือแปลตรงแบบภาษาชาวบ้านว่า “ตัวโกง ปรปักษ์ ศัตรู” อะไรก็แล้วแต่สะดวกจะเรียก

จากนั้นพอเราเตรียมข้างต้นได้ เราก็ทำให้ (เขียน) ปัญหาภายนอกเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นจนทำให้ปัญหาภายในใจตัวเอกทวีความรุนแรงตามไปด้วย ทำให้ตัวเอกรู้สึกว่ารันทดกับชีวิตและยากเย็นเหลือเกินที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดจากตัวละครที่เป็นตัวปรปักษ์ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ตัวเอกสามารถแก้ไขปัญหาภายนอกดังกล่าวได้ ปัญหาภายในใจของเขาก็จะถูกแก้ตามไปด้วย…เช่น ถ้าตัวเอกกำจัดตัวโกงได้ ก็จะไม่ใครมาคอยล้อเลียนเรื่องเขาปากเหม้นอีกต่อไปและปมด้อยเรื่องปากเหม็นก็จะไม่มีอีก” ….นี่คือสิ่งที่สำคัญสำหรับการสร้างเรื่องขึ้นมาครับ

ดังนั้นท่านใดที่เขียนเรื่องทิ้งไว้รอแก้ไข หรือกำลังเขียนเรื่องอยู่ ลองหยุดสักครู่แล้วมองไปที่เรื่องเขียนของเราว่า มีสิ่งที่กล่าวมานี้หรือเปล่า ต่อที่เทคนิคข้อที่ 5 เลยดีกว่า

5 ไม่มีวายร้ายแบบฮาร์ดคอร์100%ในโลกนิยายหรือวรรณกรรม…

ไม่มีวายร้ายหรือ Villain ในนิยาย…

จากเทคนิคข้อสี่ที่เราได้เรียนรู้ สังเกตเห็นว่าปู่เบน โบวาไม่ได้ใช้คำว่าตัวร้าย แทนคำว่า ปรปักษ์หรือศัตรู เพราะในชีวิตจริง (ทางโลกของวรรณกรรม) “ไม่มีใครเป็นตัวร้ายโดยสมบูรณ์แบบ” นั่นหมายความว่า ตัวละครก็ต้องมีสองด้านคือด้านดีและด้านร้ายด้วย และไม่มีใคร (มนุษย์) เลวร้ายถึงขั้นเรียกว่า ปีศาจ ไปได้

ในโลกของนิยายและเรื่องแต่ง มีเพียงแค่ตัวเอกของเรื่องถูกปัญหารุมเร้า และตัวเอกจะต้องแก้ปัญหาเพื่อให้ไปสู่อิสระภาพภายในจิตใจตัวเองและภายนอกกาย นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถเขียนเรื่อง แฮมเล็ต (ไม่ใช่หนูแฮมเตอร์นะครับ…โน๊ตผู้เขียน) จากมุมมองหรือ viewpoint ของ Claudius ซึ่งเป็นกษัติย์ที่สังหารบิดาของแฮมเล็ต และก็แต่งงานกับแม่แฮมเล็ตซะเอง (โอ๊แม่เจ้า…มันร้ายจริงๆ) เราอาจจะเขียนเรื่องจากมุมมองของ Claudius ที่หลงรักภรรยาของน้องชายตัวเอง และกล้าที่จะทำทุกอย่างเพื่อเอาตัวภรรยาซึ่งเป็นแฟนของน้องชายมาครอบครองให้ได้…แต่ท้ายที่สุดแล้ว ตัว Claudius ก็ไม่ใช่ตัวร้าย 100% เพราะมันก็มีส่วนดีบ้างล่ะน่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น